สมมติฐานความเสี่ยงทางสังคม (Social risk hypothesis) ของ แนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า

สมมติฐานนี้คล้ายกับทฤษฎีลำดับชั้นทางสังคมแต่ให้ความสำคัญต่อการหลีกเลี่ยงการถูกกีดกันออกจากลุ่มสังคม แทนเรื่องการต่อสู้เพื่อสถานะทางสังคมประโยชน์ทางความเหมาะสมในการสร้างความสัมพันธ์แบบช่วยเหลือกันและกันเป็นเรื่องที่ชัดเจนมานานแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยไพลสโตซีน การช่วยเหลือกันและกันเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อออกหาอาหารและได้การป้องกันจากสัตว์ล่าเหยื่อ[11]

ดังนั้น ความซึมเศร้าจึงมองว่า เป็นปฏิกิริยาปรับตัวที่เลี่ยงความเสี่ยงการถูกกีดกันจากสังคม ที่จะมีผลวิกฤติต่อความสำเร็จในการอยู่รอดและการสืบพันธุ์ของบรรพบุรุษมนุษย์หลักฐานทางกลไกและทางปรากฏการณ์วิทยาของความซึมเศร้าแสดงว่า ภาวะซึมเศร้าจากอ่อนไปถึงกลาง (หรือว่า ภาวะ "บรรทัดฐาน") ช่วยรักษาความยอมรับทางสังคมผ่านลักษณะที่คาบกัน 3 อย่าง คือ

  1. ความไวทางการรู้คิดต่อความเสี่ยงและสถานการณ์ทางสังคม (เช่น สัจนิยมเหตุซึมเศร้า [depressive realism])
  2. การยับยั้งพฤติกรรมแข่งขันและมั่นใจที่อาจเสี่ยงเพิ่มความขัดแย้งหรือการถูกกีดกัน (ดังที่ชี้โดยอาการเช่น ความภูมิใจในตนต่ำ และการชอบอยู่คนเดียว)
  3. ผลเป็นพฤติกรรมที่ให้สัญญาณต่อบุคคลสำคัญอื่น ๆ เพื่อได้ความช่วยเหลือมากขึ้น (เช่น มีการร้องเรียกให้ช่วย)[11][30]

ตามมุมมองนี้ กรณีรุนแรงของโรคซึมเศร้าที่กำหนดโดยเกณฑ์วินิจฉัยทางคลินิก สะท้อนถึงกลไกที่เกิดการปรับตัวผิดหรือควบคุมได้ไม่ดี ซึ่งอาจจะมีเหตุโดยส่วนหนึ่งจากความไม่แน่นอนและการแข่งขันในโลกาภิวัตน์ปัจจุบัน

ใกล้เคียง

แนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า แนวคิดปฏิเสธเอดส์ แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท แนวคิดหลังยุคนวนิยม แนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอม แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลาง แนวคิดโฮจิมินห์ แนวคิดไกสอน พมวิหาน แนวคิดที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตย

แหล่งที่มา

WikiPedia: แนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า http://www.abc.net.au/rn/science/mind/stories/s107... http://www.biopsychiatry.com/depression/adaptive.h... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S01650... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S01650... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S10905... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S10905... http://books.google.com/?id=aVh9jtWbG0wC&pg=PA95&d... http://books.google.com/?id=toRX7Zyo_pMC http://www.nature.com/mp/journal/vaop/ncurrent/pdf... http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=980...